"เบนโตะ" ศิลปะห่อข้าวพกพา สู่การแสดงชนชั้นและความสัมพันธ์ของคนญี่ปุ่น
เจาะลึก กล่องข้าวญี่ปุ่น “เบนโตะ” ศิลปะที่สวยงามกินได้ อิ่มท้องด้วย มีความเป็นมาอย่างไร ทำไมถึงกลายเป็นศิลปะกล่องข้าวญี่ปุ่นกันนะ?
ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แทนความรัก ที่เชื่อมโยงสายใยความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ผ่านกล่องข้าวเบนโตะอาหารกลางวัน ที่คนทำมุ่งมั่นตั้งใจ อย่างที่จะเห็นผ่านตากันในโลกโซเชียลหลายกล่องที่ทำออกมาได้อย่างสวยงามและน่ารัก จนกลายเป็นศิลปะแห่งกล่องข้าวเบนโตะไปซะเเล้ว และวันนี้ Kabocha sushi จะพาย้อนไปเจาะลึก กล่องข้าวญี่ปุ่น “เบนโตะ” ศิลปะที่สวยงามกินได้ อิ่มท้องด้วย มีความเป็นมาอย่างไร ทำไมถึงกลายเป็นศิลปะกล่องข้าวญี่ปุ่นกันนะ?
คำว่า Bento ในญี่ปุ่น ถูกใช้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 มาจากการกินอาหารกล่องหรือซื้อจากร้านค้า เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการกินในญี่ปุ่น คำว่า "เบนโตะ" หลังจากศตวรรษที่ 16 การเรียก "เบนโตะ" จะใช้เรียก ภาชนะหรือกล่อง ที่สามารถใส่อาหารแบบพกพาได้ และ สามารถใส่อย่างอื่นได้อีกมากมาย ซึ่งคำว่า bento [弁当] จะประกอบไปด้วยสำนวน 弁 ซึ่งแปลว่าความแตกต่างและการแยกตัว และสำนวน 当 ซึ่งหมายถึงการทำให้สำเร็จ และหากนำ 2 คำมารวมกัน 弁当 ก็จะแปลเป็นคำว่า สะดวก นั่นเอง
ต้นกำเนิดของเบนโตะนั้น มีที่มายาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนยุคที่คนยังต้องออกล่าสัตว์เป็นอาหาร ซึ่งมีหลักฐานบันทึกในพงศาวดาร "นิฮงโชคิ" ไว้ว่าเวลาที่ชาวญี่ปุ่นไปล่าเหยี่ยว ก็จะนำข้าวสารที่ต้มหรือนึ่งจนสุกไปตากแดดแล้วปั้นเป็นก้อน พกติดตัวเพื่อนำไปกินด้วย เวลาเดินทางไกล และจากข้าวปั้นธรรมดาก็พัฒนาเป็นการห่ออาหารอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เนื้อสัตว์ ผัก และของหวาน และต่อมาชนชั้นสูง ก็ใช้การห่ออาหารไปรับประทานขณะชมดอกไม้ โดยเบนโตะจะมีการแบ่งอาหารเป็นชั้นๆ ซึ่งจะเรียกว่า "ยุซันเบนโต" (Yusanbentou)
และเบนโตะก็เริ่มแพร่หลายไปสู่คนชนชั้นอื่นๆ คือช่วงสมัยที่มีการแสดงละครโนห์และคาบุกิ เมื่อถึงช่วงพักครึ่งก็จะมีอาหารกล่องขาย ที่เรียกว่า มาคุโนะอุจิ (Makunouchi) หรือข้าวกล่องระหว่างม่าน ประกอบไปด้วย เนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นๆ ของดอง ไข่ ผักต้ม บ๊วย และข้าว จัดเป็นสัดส่วนอยู่ภายในกล่อง ในยุคนี้ข้าวกล่องเบนโตะเริ่มเป็นที่นิยมจนมีการทำหนังสือออกมาแนะนำการจัดข้าวกล่องให้อร่อยและสวยงามอีกด้วย
ในความเป็นจริง 2 คำนี้ไม่มีความแตกต่างกัน ระหว่าง “โอเบนโตะ” กับ “เบนโตะ” ทั้ง 2 คำนี้ สามารถใช้แทนกันได้ เมื่อพูดถึงวิธีการบรรจุอาหารแบบกล่องของญี่ปุ่น คำว่า “เบนโตะ” ใช้พูดคุยในชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่นกับเพื่อนๆ แต่หากว่ามีคำว่า โอ [お] อยู่นำหน้า ก็จะทำให้คำเป็นทางการมากขึ้น เป็นการให้เกียรติกับคนที่พูด หรือการพูดคุยกับผู้ใหญ่ที่เคารพ
กล่องข้าว “เบนโตะ” ของญี่ปุ่นมีมากมายหลากหลายรูปแบบ และ ชื่อเรียกของเบนโตะแต่ละรูปแบบก็แตกต่างกันไปมากมาย อย่าง เรียกตามการกำเนิดเบนโตะชนิดนั้นบ้าง เรียกตามหน้าที่ของเบนโตะบ้าง หรือเรียกตามท้องถิ่นที่กำเนิดเบนโตะ แต่หากจะนับเฉพาะที่เป็นที่รู้จักทั่วไปจะแบ่งประเภทออกได้ 5 ประเภท
หากดูซีรีส์ ภาพยนตร์ หรืออนิเมะจากญี่ปุ่น ภาพหนึ่งที่เห็นได้บ่อยๆ คือคุณแม่จะตื่นเช้ามาทำอาหารเช้าใส่กล่องเบนโตะให้กับสามีไปทำงานและลูกๆ ไปกินที่โรงเรียน ซึ่งในกล่องข้าวใบน้อยๆ นี้จะบรรจุข้าว เนื้อสัตว์ ผัก เครื่องเคียง บางครั้งก็มีของหวานและผลไม้ด้วย ซึ่งแนวคิดของกล่องข้าว เบนโตะ นี้ คนญี่ปุ่นจะรวมอาหารแต่ละชนิดอย่างละนิดละหน่อย แบบ “A little bit of everything” ให้มีสารอาหารครบถ้วน เพื่อให้มื้ออาหารมีความหลากหลายน่ากินมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เบนโตะ ข้าวกล่องเล็กๆ จึงกลายมาเป็นส่วนประกอบเล็กๆ ที่คนญี่ปุ่นใช้เป็นเหมือนข้อความในการส่งความรักให้คนที่รักในครอบครัว ที่แทรกตัวอยู่ในวิถีชีวิตอันแสนเร่งรีบของสังคมญี่ปุ่นได้อย่างสวยงาม
“เบนโตะ” ที่ใส่อาหารญี่ปุ่น ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ ของคนญี่ปุ่นโดยแท้ หากใครอยากกินเบนโตะอาหารญี่ปุ่นที่รสชาติญี่ปุ่นแท้ๆ วัตถุดิบนำเข้าจากญี่ปุ่นโดยตรง ตรงมาได้เลยครับ เพราะที่ Kabocha sushi (คาโบฉะ ซูชิ) มีเมนูเบนโตะอาหารญี่ปุ่นหลากหลาย ให้คุณได้ลิ้มรสความอร่อย หรือสั่งออนไลน์ เดลิเวอรี่ delivery ส่ง อาหารญี่ปุ่น อร่อยถึงบ้าน เราก็มีบริการนะครับ