เเนวคิดวัฒนธรรม "วาบิซาบิ" กับประเพณีชงชาเขียว

            คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมการกินและแนวคิดการดำเนินชีวิตมาช้านาน ความเรียบง่าย ความงามของธรรมชาติ และการเป็นไปของชีวิตมักเชื่อมโยงกันจนกลายมาเป็นหลักแนวคิดและปรัชญาของคนญี่ปุ่น เพื่อน ๆ เคยได้ยินคำว่า “วาบิซาบิ” กันบ้างไหม? วัฒนธรรมนี้มีความเป็นมาอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับประเพณีชงชาอย่างไร Kabocha sushi จะมาเล่าให้ฟังกันครับ 

วาบิซาบิ คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับชาเขียว

“วาบิ” (侘び) มาจากคำว่า “วาบิชี่” (侘しい) ที่แปลว่า ความเรียบง่าย ยากลำบาก ความรู้สึกแย่ วาบิ จึงหมายถึง ความเรียบง่าย ความงามในความไม่สมบูรณ์แบบ และความไม่เที่ยงของธรรมชาติ ส่วน “ซาบิ” (寂び)  มาจากคำว่า “ซาบิชี่” (寂びしい) ที่แปลว่า เหงา เศร้า เดียวดาย ซาบิ จึงหมายถึง ความเงียบสงัดภายในจิตใจ ดังนั้น คำว่า “วาบิ-ซาบิ” เป็นแนวคิดที่มีความสอดคล้องกับทางพระพุทธศาสนาที่เข้าถึงควมจริงและวัฏจักรของธรรมชาติที่ไม่คงทนถาวร มีการเกิด เสื่อมโทรม และสิ้นสุดลง เป็นมุมมองการยอมรับความจริงที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่สมบูรณ์แบบ ไม่คงอยู่คงทนแบบถาวร เมื่อนำมารวมกันแล้ว “วาบิ-ซาบิ” จึงมีความหมายว่า ความงามที่เรียบง่าย และความสมถะ

พิธีชงชาเขียวสะท้อนแนวคิดแบบวาบิซาบิ

 “วาบิ-ซาบิ” เป็นความงามในความเรียบง่าย ซึ่งแนวคิดนี้มักอยู่ในประเพณีการชงชา เพราะพิธีชงชาไม่ได้เป็นเพียงแค่การชื่มชมความเรียบง่าย เช่น ถ้วยใส่ชาเล็ก ๆ ธรรมดา กับเป็นกิจวัตรประจำวันที่เรียบง่าย เช่น การทำความสะอาดถ้วยน้ำชาพิธีชงชาเขียวของญี่ปุ่นมีพื้นฐานในการเคารพชื่นชมกับความงามที่มีอยู่รอบตัวของคนเรา ด้วยความเงียบสงบ เรียบง่าย ปราศจากเรื่องทางโลก ซึ่งเป็นแนวคิดที่เข้าได้ดีกับวาบิ-ซาบิเป็นอย่างมาก คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงต้องมีการจัดห้องชงชาเขียวภายในบ้าน หรือสวนสำหรับพิธีชงชาโดยเฉพาะ เพราะพิธีชงชาเขียวช่วยให้คนเรามองเห็นความงามอันเป็นนิรันดร์ผ่านความเงียบสงบ เรียบง่าย และความเหงาในแบบวาบิ-ซาบินั่นเอง

รู้จักพิธีชงชาเขียวที่สงบและเรียบง่าย

พิธีชงชาเป็นการเสพสุทรียภาพในการลิ่มรสที่เรียบง่าย ไม่ปรุงแต่งท่ามกลางความสงบสุข การจัดพิธีชงชาจึงจำเป็นต้องมีการจัดที่นั่งเพื่อประกอบพิธี เช่น ห้องพิธีชงชา โดยที่ภายในห้องชงชาล้วนใช้อุปกรณ์ที่ทำมาจากธรรมชาติ มีการจัดดอกไม้ที่หลากหลายชนิดในแจกันใบเดียวแต่ดูกลมกลืนกันอย่างเป็นธรรมชาติ ส่วนสวนชงชา จะมีการนำหิน กรวด ทราย หรือมอส รา มาจัดวางอยู่รวมกัน เพื่อแสดงความถึงความเรียบง่ายและความเป็นจริงทางธรรมชาติ

            วัฒนธรรมการชงชาจะมีลำดับขั้นของพิธีการชงและการดื่ม โดยเริ่มจากการใส่ชาเขียวหรือมัทฉะลงในถ้วยชา จากนั้นตักน้ำจากหม้อต้มน้ำร้อน แล้วคนด้วยฉะเซ็น(ที่ตีฟองชา)จนชาเขียวแตกตัวเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อเตรียมชาเขียวเรียบร้อยแล้วก็จะเริ่มขั้นตอนของการดื่มชา เริ่มจากการยกถ้วยชาขึ้นด้วยมือขวาวางบนฝ่ามือซ้าย แล้วหมุนถ้วยชาเข้าหาตัวก่อนยกดื่ม ดื่มเสร็จให้ใช้ปลายนิ้วเช็ดขอบถ้วยชา หากชาเขียวมีความเข้มมากอาจใช้ไคชิ(กระดาษ) เช็ดทำความสะอาดตรงขอบถ้วยชาอีกครั้ง

            พิธีชงชา จึงเกี่ยวข้องกับการชื่นชมความงามที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ที่วุ่นวายสับสน ตามแนวคิดและความเชื่อของลัทธิเซนที่ทำให้คนเรารู้จักเอาใจใส่กับวิถีชีวิตชีวิตประจำวัน ให้ครองสติและรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา แนวคิดวาบิซาบิ เป็นความเรียบง่ายที่ฝั่งรากลึกลงในวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่น เราจึงเห็นการนำแนวคิดนี้ไปใช้กับการจัดตกแต่งบ้าน การตกแต่งสวน หรือการซ่อมแซมถ้วยชาที่เปลี่ยนรอยแตกร้าวให้กลายเป็นความงดงามที่ไม่สมบูรณ์ รวมถึงศิลปะการจัดดอกไม้ที่ใช้คำว่า “น้อยแต่มาก” คือการใช้ดอกไม้เพียงน้อยนิด แต่มากไปด้วยความหมายแฝงของการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย การพอใจในสิ่งที่มี และมากไปด้วยความสุข

          มาสัมผัสความเรียบง่ายในแบบวาบิซาบิได้ที่ร้าน Kabocha sushi ร้านอาหารญี่ปุ่น ที่นำแนวคิดมาปรับใช้ในการจัดตกแต่งร้านและการจัดเสิร์ฟอาหาร รวมถึงรสชาติที่เป็นธรรมชาติผ่าน ซูซิ ซาซิมิ ปลาดิบสด ๆ ที่ส่งตรงมาจากตลาดปลาของญี่ปุ่นผ่านการปรุงรสจากเซฟผู้ช่ำชองในการทำอาหารญี่ปุ่น ทำให้ได้อาหารญี่ปุ่นที่มีรสชาติอร่อยอัดแน่นไปด้วยคุณภาพ เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้ทานอาหารญี่ปุ่นที่สุขล้นทุกคำ ใครอยากกินอาหารญี่ปุ่นที่คุ้มค่าคุ้มราคาสามารถมาทานกันได้ที่ Kabocha sushi ทั้ง 11 สาขา หรือจะสั่งผ่าน delivery  หากนึกถึงอาหารญี่ปุ่น อย่าลืมนึกถึง Kabocha sushi นะครับ!