ประเทศญี่ปุ่น เป็นเพียงเกาะเล็ก ๆ รูปทรงยาว เมื่อดูจากแผนที่โลก ทว่าอัดแน่นไปด้วยวัฒนธรรมอันน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น การแต่งกาย ความเชื่อ ศาสนา หรือแม้กระทั่ง อาหารญี่ปุ่น ก็ยังได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยเฉพาะเมนู ซูชิ และ ซาชิมิ ที่เรามักจะพบเห็นได้บ่อย ในไลน์อาหารนานาชาติ วันนี้ คาโบฉะ ซูชิ (Kabocha Sushi) จะมาเล่าประวัติ ความเป็นมาของ เมนูประจำชาติญี่ปุ่น ให้ฟังกัน !
ต้นกำเนิดซาชิมิ มาจากไหนกันนะ?
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ในเรื่องการกินปลาดิบ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 ด้วยความที่ ประเทศญี่ปุ่นเป็นเกาะ ทำให้ลักษณะภูมิประเทศ รายล้อมรอบไปด้วยทะเล ชาวญี่ปุ่น จึงสามารถหาอาหารทะเลสด ๆ กินได้เสมอ แต่ก็ใช่ว่าจะหาได้แบบนั้นทุกพื้นที่ และเดิมทีอาหารทะเล ก็ไม่ได้นิยมกินแบบดิบ ซาชิมิเป็นอาหารที่พัฒนามาจาก นามาซึ ซึ่งเป็นอาหาร ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน ในยุคนาระ ( ค.ศ. 710 – 794 ) ประกอบด้วย ผักสดสไลด์เป็นเส้นบาง กับเนื้อสัตว์ทะเลสด ที่หมักในน้ำส้มสายชูข้าว กระทั่งมาถึง ยุคมุโรมาจิ (ราว ๆ ค.ศ. 1333 – 1573) ก็เริ่มมีการ กินปลาดิบกัน แต่ยังถูกจำกัดแค่ในสังคมชนชั้นสูงเท่านั้น เนื่องจากเป็นเรื่องยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายสูง เพราะยังไม่มีการคิดค้นวิธีแช่เย็น เพื่อรักษาความสดของอาหารทะเล ที่ต้องขนส่งในระยะทางไกล
ประมาณ 300 ปีต่อมา ในช่วงยุคเมจิ (ค.ศ. 1868 – 1912) ได้มีโรงผลิตน้ำแข็งขนาดใหญ่ สร้างขึ้นที่โตเกียว ในปี ค.ศ. 1899 ซึ่งสามารถผลิตน้ำแข็ง ได้วันละ 50 ตัน จึงทำให้การขนส่งอาหารทะเลสด จากพื้นที่ชายฝั่งเข้ามายังเมืองหลวง ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จากที่คนญี่ปุ่น ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ไม่ได้ติดชายฝั่ง จะได้กินแต่อาหารทะเลหมัก หรือ อาหารทะเลตากแห้งเท่านั้น ก็กลายเป็นเริ่มได้วัตถุดิบสด ๆ มาทำเมนูอาหาร ดังนั้นในช่วงปลายของ ยุคเมจิ จึงเริ่มมีการตีพิมพ์สูตรอาหาร ที่ทำจากปลาดิบ เกิดขึ้น และนับเป็นจุดเริ่มต้น ของวัฒนธรรมการกินปลาดิบ ในประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง
“ซาซิมิ” ปรัชญาความเรียบง่าย ที่ซ่อนอยู่ในปลาดิบ
ซาชิมิ มีความหมายว่า “ร่างที่ถูกเจาะ” ถึงแม้ว่า ซาชิมิจะเป็นอาหาร ที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน แต่แนวความคิดของการทำอาหารชนิดนี้ แตกต่างจากอาหารจีน และ อาหารจากชาติอื่น ๆ อย่างสิ้นเชิง เพราะว่า ชาวญี่ปุ่น ต้องการเน้นรสชาติดั้งเดิม ของวัตถุดิบให้มากที่สุด ปรุงให้น้อยที่สุด ปรัชญาในการปรุงอาหาร ของญี่ปุ่นนั้น ให้ความสำคัญกับการคัดสรรวัตถุดิบที่สด และ มีรสชาติดีตามธรรมชาติ มากกว่าเทคนิคการปรุงที่ซับซ้อน การกินจึงเรียบง่าย ไม่ต้องมีขั้นตอนยุ่งยาก จึงกล่าวได้ว่า ซาชิมินั้นได้แฝงแนวคิดปรัชญา เอาไว้อย่างแยบยล สมกับที่เป็น อาหารญี่ปุ่น จริง ๆ
ซูชิ และ ซาชิมิ แตกต่างกันยังไง?
อันที่จริงมองเพียงปราดเดียวเราก็สามารถแยกได้แล้วว่าชิ้นไหนคือ ซูชิ และชิ้นไหนคือซาชิมิ เพราะซูชิก็คือปลาดิบโปะอยู่บนข้าวปั้น ส่วนซาชิมิจะเป็นปลาดิบ แล่เป็นชิ้นขนาดพอดีคำ ไม่มีข้าว และไม่ปรุงรสใด ๆ ทว่าความแตกต่างของมันไม่ใช่เพียงรูปลักษณ์ภายนอก หรือรสชาติ หากยังมีวิธีกินที่ไม่เหมือนกันด้วย
ซูชิ
ตามต้นตำรับของญี่ปุ่นแล้ว จะมีการใส่วาซาบิแทรกไว้ระหว่างปลาดิบกับข้าวปั้น ชาวญี่ปุ่นนิยมใช้มือหยิบซูชิเข้าปาก บางคนไม่จิ้มโชยุ
ซาชิมิ
เนื่องจากเป็นปลาดิบแล่เป็นชิ้นๆ จึงต้องใช้ตะเกียบคีบ และมีเครื่องเคียงคือ หัวไชเท้าขูด ขิงดอง วาซาบิ ใบชิโซะ และโชยุ
ทั้งสองเมนูได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม จนกลายเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่เผยแพร่ไปทั่วโลก โดยเฉพาะคนไทยจะโปรดปราน อาหารญี่ปุ่น มากเป็นพิเศษ ทำให้เกิดร้านอาหารญี่ปุ่นผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด แต่ถ้าต้องการหาร้านที่มีรสชาติเหมือนต้นตำรับ ต้องแวะมาที่ คาโบฉะ ซูชิ (Kabocha Sushi) เพราะที่นี่เลือกแต่วัตถุดิบ สด ใหม่ มีคุณภาพ ส่งตรงจากญี่ปุ่นมาถึงไทย มีการเก็บรักษาอุณหภูมิที่พอเหมาะ ทำให้คงความสดได้นาน จึงทำให้ได้รสชาติแตกต่างจากร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วไป ไม่ว่าคุณจะนั่งกินที่ร้าน หรือ สั่งเดลิเวอรี่ (Delivery) ให้เราไปส่งถึงหน้าบ้าน ก็ได้รสชาติเหมือนกินที่ญี่ปุ่นเช่นกัน!