หากพูดถึง ประเทศญี่ปุ่น ส่วนใหญ่มักจะนึกถึง สถานที่ท่องเที่ยว อาหารญี่ปุ่น และถ้าพูดถึงผู้คน เราก็อาจนึกถึงคำว่า “โอตาคุ” เพิ่มเข้ามาด้วย เพราะ ประเทศญี่ปุ่น คือต้นกำเนิดของคำๆ นี้ วันนี้ คาโบฉะ ซูชิ (Kabocha Sushi) จะพาทุกคนไปรู้จักกับ โอตาคุว่ามีความเป็นมายังไงกันนะ?
คาโบฉะ ซูชิ (Kabocha Sushi) ขอพาทุกคนย้อนกลับไปในยุคเมจิ ในสมัยนั้น ชาวญี่ปุ่น นิยมไปโรงละคร เพื่อฟังนักเล่าเรื่อง เล่าเรื่องราวต่าง ๆ มีทั้งเล่านิทาน บทละคร โดยมีนักดนตรีดีด ซามิเซ็น คอยให้จังหวะ เพื่อเสริมอรรถรสอยู่ข้างๆ เรียกว่าการแสดง โจรุริ (浄瑠璃) ซึ่งในยุคนั้นได้มี นักเล่าเรื่องหญิง อนนะกิดะยู หรือ มุสุเมะกิดะยู (女義太夫・娘義太夫) ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เปรียบได้กับ ไอดอลหญิง ในยุคปัจจุบัน ในขณะที่เล่าเรื่อง หากถึงช่วงเหตุการณ์เข้มข้น เหล่าผู้ฟังก็จะตะโกนคำว่า “โดสุรุ โดสุรุ” (どうする、どうする) จึงได้มีการเรียกกลุ่มแฟนคลับผู้เร่าร้อนกลุ่มนี้ว่า “โดสุรุเร็น (堂摺連)” และแฟนคลับกลุ่มนี้นี่แหละ ที่เป็นตัวช่วยให้เรื่องเล่าสนุกสนาน มีรสชาติมากยิ่งขึ้น หากพวกเขาชื่นชอบ นักเล่าเรื่อง คนไหน ก็จะติดตามไปฟังทุกที่ บางคนหลงใหลถึงขั้นที่ว่า มีนักเล่าเรื่องหญิง ทำปิ่นปักผมร่วงลงพื้น เหล่าแฟนคลับผู้คลั่งไคล้ ก็รีบยื้อแย่งกันจนแทบเกิดสงครามย่อม ๆ บางคนก็วิ่งไล่ตามรถลาก ในขณะที่ นักเล่าเรื่องหญิง ย้ายไปอีกโรงละครหนึ่งเลยทีเดียว
ต้นกำเนิดคำว่า “โอตาคุ” มาจากไหน?
“โอตาคุ” ใน ภาษาญี่ปุ่น สะกดเป็น ตัวคาตะคานะ ว่า オタク หมายถึงคนที่ สนใจบางสิ่งบางอย่างมากผิดปกติ จนถึงขั้นหมกมุ่น ในปี 1983 อากิโอะ นากาโมริ (Akio Nakamori) ซึ่งเป็นบรรณาธิการและคอลัมนิสต์ ได้เขียนบทความที่มีชื่อว่า โอทากุ โนะ เคงคิว (Otaku no kenkyu) ลงในนิตยสารการ์ตูน มังงะ บุริกโกะ (Manga Burikko) โดยเรียกกลุ่มแฟนการ์ตูนว่า โอทากุ-โซกุ (Otaku-Zoku) ซึ่งแปลว่า เผ่าพันธุ์โอตาคุ และเรียกสั้น ๆ ว่าโอตาคุ แม้ว่าคอลัมน์นี้จะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่สื่อมวลชนยังคงนำคำนี้มาใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว ของเยาวชนที่หมกมุ่นอยู่กับ การ์ตูน และอนิเมชั่น ซึ่งมีความหมายแฝงที่ไม่ค่อยดีนัก ต่อมาในช่วงปี 1989 ได้เกิดคดีฆาตกรโหด ทสึโตมุ มิยาซากิ (Tsutomu Miyazaki) เป็นคดีสะเทือนขวัญ ที่คนร้ายฆ่าเด็กผู้หญิงไปถึง 4 ศพ ตำรวจได้ค้นห้องพักของเขา และพบว่ามี วิดีโอเทปการ์ตูน อนิเมะ ถึง 5,736 ม้วน นักข่าวจึงตั้งฉายาว่า นักฆ่าโอตาคุ ซึ่งทำให้ คนญี่ปุ่น มองว่าพวก โอตาคุเป็นบุคคลอันตราย น่ารังเกียจ
รู้หรือไม่ว่าโอตาคุมีวัฒนธรรมเฉพาะตัวด้วยนะ!
โอตาคุมีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ซึ่งก็คือ การรวมตัวกันทำกิจกรรมต่าง ๆ และนัดพบปะสังสรรค์ พูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูล ซื้อ ขาย กู๊ดส์ ไปจนถึงรวบรวมเงินเพื่อทำกิจกรรมอะไรบางอย่างร่วมกัน พวกเขามักจะมีรสนิยม และความคิดเห็นสอดคล้อง คล้อยตามกัน อย่างเช่นในการแสดงคอนเสิร์ตของไอดอล เหล่าโอตาคุ ก็จะโบกแท่งไฟ พร้อมกับส่งเสียงเชียร์โดยพร้อมเพรียงกัน
ปี 1973 ถือเป็นยุครุ่งเรืองของ วัฒนธรรมโอตาคุ ในย่าน อากิฮาบาระ เหล่าคอสเพลเยอร์ หรือเพอร์ฟอเมอร์ มักจะรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ บนถนนคนเดิน เป็นแลนด์มาร์กดึงดูดนักท่องเที่ยวอีกหนึ่งจุด กระทั่งปี 2008 เกิดคดีสังหารหมู่ที่ อากิฮาบาระ ผู้ก่อเหตุขับรถบรรทุกไล่ชนคนที่อยู่บนถนน และยังลงมาไล่แทงคนซ้ำ ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 7 ราย และบาดเจ็บอีกหลายคน จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้มีการปิดถนน และห้ามทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ อากิฮาบาระ เพื่อไม่ให้เกิดคดีเลียนแบบซ้ำรอยเดิม ในปี 2011 ญี่ปุ่น ได้ประกาศเปิดถนนคนเดินที่ อากิฮาบาระ แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลา และห้ามทำกิจกรรม ถึงอย่างนั้น หากคุณมีโอกาสได้ไป เที่ยวญี่ปุ่น ก็ไม่ควรพลาดแวะไป อากิฮาบาระ เพราะที่นั่นเป็นแหล่งรวม อนิเมะ มังงะ เกม ฟิกเกอร์ และร้านเมดคาเฟ่ ที่มีสาวน้อยในชุดเมด ใส่หูแมว ออกมายืนเรียกลูกค้าข้างถนน
โอตาคุในยุคปัจจุบัน
ในปัจจุบันมีหนังสือ หรือภาพยนตร์ ที่มีโมเดลเป็น โอตาคุและ มังงะ อนิเมะ ของ ญี่ปุ่น ก็เป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติมากขึ้น ทำให้ภาพลักษณ์ของโอตาคุ ไม่ได้ดูแย่เหมือนในอดีต คำว่าโอตาคุ ยังรวมถึงคนที่ชื่นชอบ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างมากจนถึงขึ้น หลงใหล คลั่งไคล้ และศึกษาสิ่งๆ นั้นจนเกิดความชำนาญ อย่างเช่น คนที่ชอบรถไฟ เครื่องบิน ก็จะสะสมสิ่งของที่เกี่ยวข้อง ศึกษาลงลึกไปจนถึงต้นกำเนิด รู้ส่วนประกอบอันซับซ้อน คนที่ชอบอาชีพใดอาชีพหนึ่ง ก็จะสะสมเครื่องแบบ และศึกษาอาชีพนั้น ๆ อย่างเจาะลึก หรือคนที่ชอบไอดอล ก็จะติดตามไปทุกที่ รู้ประวัติเขาทุกเรื่อง และคอยซัพพอร์ตศิลปินที่ตนชื่นชอบ
โอตาคุไม่ได้มีแค่ที่ ญี่ปุ่น เท่านั้นนะ!
โอตาคุ มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับ กีค (Geek) และ เนิร์ด (Nerd) ในตะวันตก ซึ่งหมายถึง แฟนพันธุ์แท้ที่โปรดปรานในงานอดิเรก หรือเรื่องบันเทิงบางอย่าง ดังนั้นเราทุกคนสามารถเป็น โอตาคุ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างไม่ผิดแปลกอะไร และสำหรับคนที่เป็น โอตาคุด้านอาหารญี่ปุ่น ต้องไม่พลาดมาลองชิมเมนูอาหารที่ ร้าน คาโบฉะ ซูชิ (Kabocha Sushi) ดูสักครั้ง เพราะเราได้คัดสรรแต่วัตถุดิบคุณภาพดีๆ ที่มีแหล่งผลิตชื่อดังจาก ประเทศญี่ปุ่น บินตรงส่งมาถึงกรุงเทพฯ โดยที่คุณไม่ต้องไปไกล ก็ได้รสชาติต้นตำรับแท้ๆ ที่ คาโบฉะ ซูชิ (Kabocha Sushi) เท่านั้น! ตอนนี้มีบริการ เดลิเวอรี่ Delivery ส่ง อาหารญี่ปุ่น ถึงบ้านอีกด้วย สะดวกสบายขนาดนี้ ต้องลองสั่งสักครั้งนะครับ