“กระดิ่งลม” ตำนานทำนายดวง สู่สัญลักษณ์หน้าร้อนของญี่ปุ่น

     หากคุณเคยไปเที่ยวญี่ปุ่น ในช่วงหน้าร้อน เดินเล่นชมเมืองญี่ปุ่น อยู่อาจจะเคยได้ยินเสียงกรุ๊งกริ๊งก้องกังวาลของ กระดิ่งลมญี่ปุ่น ที่มักจะแขวนอยู่ริมหน้าต่าง ใต้ชายคาบ้าน หรือแม้แต่ภายในวัด ซึ่งกะดิ่งลมนี้ ที่ญี่ปุ่นไม่ได้แค่แขวนประดับไว้สวย ๆ เพียงอย่างเดียวนะคะ แต่ยังหมายถึงบรรยากาศอบอุ่น ในช่วงหน้าร้อนมาถึงแล้ว ทั้งยังมีตำนานความเชื่อและวัฒนธรรมของ คนญี่ปุ่น เกี่ยวกับกระดิ่งลม แฝงไว้อยู่ในนี้ด้วย และในวันนี้ คาโบฉะ จะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ

 

กระดิ่งลมเป็น วัฒนธรรมญี่ปุ่น

 

ทำความรู้จักกระดิ่งลมของญี่ปุ่น

     กระดิ่งลม (Furin) สัญลักษณ์ของฤดูร้อนใน ญี่ปุ่น เมื่อคนญี่ปุ่นได้ยินเสียงกระดิ่งลม จะรู้ได้ทันทีว่าเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว กระดิ่งลมของ ญี่ปุ่น ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่ ด้านนอกเป็นรูประฆังคว่ำ ด้านในเป็นลูกตุ้ม และส่วนสุดท้ายจะเป็นแถบกระดาษหลากสีห้อยลง คอยที่จะปลิวไสวตามแรงลม เมื่อสายลมพัดมาลูกตุ้ม จะกระทบเข้ากับระฆังจนเกิดเป็นเสียงที่ไพเราะ คนญี่ปุ่น นิยมแขวนกระดิ่งลมไว้ตามบ้านเป็นอย่างมาก เพราะเชื่อกันว่ากระดิ่งลมนั้น เปรียบเสมือนเครื่องรางนำโชค ที่นำพาความโชคดีมาให้คนที่อยู่อาศัยภายในบ้านด้วย

 

กระดิ่งลมเป็น วัฒนธรรมญี่ปุ่น

 

ประวัติของกระดิ่งลมในญี่ปุ่น

     กระดิ่งลมมีวัฒนธรรม ความเชื่อ และประวัติ ที่ค่อนข้างยาวนาน ย้อนกลับไปเมื่อ 1200 ปีที่ผ่านมา กระดิ่งลมได้รับอิทธิพลมาจากจีน เรียกกันว่า “Fenglings” เป็นกระดิ่งลมที่ไม่มีลูกตุ้ม ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งถ้าเป็นคนจีนมักจะใช้พลังนี้เพื่อเพิ่มพลังชี่ เพิ่มพลังชีวิต และปัดเป่าโชคร้าย โดยอาศัยเสียงที่สร้างขึ้นมา ในช่วงสมัยเฮอัน ถูกนำมาใชกันอย่างแพร่หลายไปทั่วญี่ปุ่น โดยเฉพาะในวัดพุทธ พอเวลาผ่านไป ความนิยมได้แพร่กระจายเข้าไปในบ้านของขุนนางเฮอัน ซึ่งใช้เป็นเครื่องรางป้องกันโชคร้าย และ วิญญาณชั่วร้ายที่เข้ามาในบ้าน ในที่สุด เครื่องประดับเหล่านี้ก็เข้าสู่บ้านทั่วไป ซึ่งทำให้เรามาถึงทุกวันนี้!

 

กระดิ่งลมเป็น วัฒนธรรมญี่ปุ่น

 

     เครื่องรางของฟุรินของญี่ปุ่นนั้น ทำมาจากทองสัมฤทธิ์ เดิมทำจากทองสัมฤทธิ์ มีชื่อเรียกว่า “senfutaku” พอมาถึงในศตวรรษที่ 18 กระดิ่งลมได้มีการใช้เทคนิคในการทำแก้วขึ้นมา ผ่านการแนะนำของพ่อค้าในนางาซากิ จากตอนนั้นเอง ที่ทำให้กระดิ่งลมมีการพัฒนา เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง แน่นอนว่าในช่วงแรก ๆ กระดิ่งลมแบบแก้วมีราคาที่แพงมาก ถึงอย่างนั้นความนิยมยังคงมีต่อเนื่อง จนกระทั่งศตวรรษที่ 19 กระดิ่งลมจากแก้ว ได้กลายเป็นสินค้าที่มีการวางขายกันอย่างแพร่หลาย

 

กระดิ่งลมเป็น วัฒนธรรมญี่ปุ่น

 

กระดิ่งลมของญี่ปุ่นทำจากอะไรบ้าง

     ในสมัยเฮอัน มีการใช้ทองแดง เป็นวัสดุที่ใช้ทำกระดิ่งลมมากที่สุด จนถึงศตวรรษที่ 18 ด้วยการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวยุโรปในพื้นที่อย่างนางาซากิ ทำให้เริ่มมีการทำกระดิ่งลมจากแก้ว แม้ว่าในตอนแรกจะมีราคาแพงมาก แต่กระดิ่งลมแก้วก็ได้รับความนิยมในช่วงศตวรรษที่ 19 พอมาถึงช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีการนำเหล็กมาใช้เป็นวัสดุในการทำกระดิ่งลมเช่นกัน ในปัจจุบัน มีกระดิ่งลมมากมายหลายรูปแบบ แต่ยังมีกระดิ่งลมที่เป็นงานฝีมือแบบดั้งเดิมวางขายอยู่

     สำหรับกระดิ่งลมที่มีความนิยมมากที่สุด จะเป็นกระดิ่งลมที่ทำมาจากแก้ว เพราะมีลักษณะที่เบา และมีเสียงไพเราะ โดยมีการทาสีลงลวดลายที่หลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตามกระดิ่งลมแก้วจะไม่ค่อยมีการใช้แม่พิมพ์ล่อแก้วขึ้นมาเท่าไหร่นัก แต่จะใช้การเป่าแก้วออกมา ให้เป็นรูปทรงขนาดเล็กมากกว่า และมักออกแบบให้เป็นภาพฤดูร้อนเช่น ดอกไม้ ปลา แล้วทาสีด้วยมือ จากด้านในเพื่อป้องกันไม่ให้สีลอกหรือสึกหรอได้ง่าย 

 

กระดิ่งลมเป็น วัฒนธรรมญี่ปุ่น

 

     เรื่อง วัฒนธรรมญี่ปุ่น ยังมีอีกมากมาย ที่เราอยากเล่าให้เพื่อน ๆ ได้ฟังอีกเยอะเลย ใครที่ชอบเรื่องราวของประเทศญี่ปุ่น ต้องห้ามพลาดเลยนะคะ สำหรับวันนี้เรามาพักทาน อาหารญี่ปุ่น กันที่ คาโบฉะซูซิ (Kabocha sushi) กันดีกว่าคะ เพื่อน ๆ รู้ไหมว่าที่นีมีแต่ อาหารญี่ปุ่นอร่อย ๆ เพราะเราส่งตรงวัตถุดิบทุกชนิดจาก ญี่ปุ่น เลยนะ แถมยังถูกจัดเก็บในอุณภูมิที่เหมาะสมเป็นอย่างดี ทำให้อาหารมีควมสดใหม่อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเพื่อน ๆ จะเลือกทานเมนูไหน ก็อร่อยจัดเต็มอัดแน่นไปด้วยวัตถุดิบชั้นเลิศ ถ้าใครสายซูซิ ซาซิมิยิ่งต้องประทับใจ เพราะเนื้อปลาที่ใช้มีแต่ชิ้นใหญ่ ๆ เนื้อลายสวย กินแล้วละลายในปาก พร้อมเสิร์ฟให้คุณอย่างจุใจ ใครอยากกินแต่ไม่อยากออกจากบ้านสามารถ สั่งเดลิเวอรี่ได้นะ สั่งเลย!!