กระแสน้ำกระทบ ฮอกไกโด !! ปลาแซลมอนหาย สะเทือนคนรักปลาส้ม

     เมื่อไม่นานมานี้ หากใครได้ติดตามความเคลื่อนไหวของทาง ญี่ปุ่น เมื่อ ฮอกไกโด จะเห็นว่าทาง รัฐบาลญี่ปุ่น เองได้ประกาศถึงผลกระทบของกระแสน้ำที่ทำให้ปริมาณ ปลาแซลมอน ลดน้อยหายไปอย่างน่าตกใจ วันนี้ทาง คาโบฉะ จึงอยากพามาดูกันค่ะ ว่ากระแสน้ำ ทำให้สัตว์ทะเลอย่าง ปลาแซลมอน หายไปได้อย่างไร แล้วคนรักปลาส้มจะได้ลิ้มรสความอร่อยของ เนื้อปลาแซลมอนสด ๆ กันไหม?.....

 

กระแสน้ำกระทบ ฮอกไกโด แซลมอน หาย

ต้นเหตุการเกิดกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็น 

 

     เกิดจากกระแสน้ำในมหาสมุทร เกิดจากการเคลื่อนที่ของน้ำในมหาสมุทรทำให้อุณหภูมิผิวน้ำ และทำให้เกิดกระแสน้ำเปลี่ยนแปลงส่งผลให้ภูมิอากาศ ความชื้นโดยรอบ นอกจากนี้ยังกระทบไปถึงสัตว์ทะเลต่างๆ อีกด้วย หากพูดถึงสำคัญของกระแสน้ำอุ่น (Warm Currents) เป็นกระแสน้ำที่มาจากเขตละติจูดต่ำและมีทิศทางเคลื่อนที่ไปทางขั้วโลก มักเกิดขึ้นที่บริเวณชายฝั่งตะวันออก ทำให้เกิดอุณหภูมิสูงกว่าน้ำที่อยู่โดยรอบส่งผลให้โมเลกุลของน้ำเกิดการแยกตัวออกจากกัน น้ำทะเลที่มีอุณหภูมิสูงจึงลอยตัวขึ้นเกิดเป็นกระแสน้ำอุ่น ซึ่งบริเวณที่มีกระแสน้ำอุ่นไหลผ่าน เช่น กระแสน้ำกัลฟ์สตรีม 

ในขณะที่ กระแสน้ำเย็น (Cold Currents) มักเกิดบริเวณตะวันตกของทวีป เป็นกระแสน้ำที่ไหลมาจากเขตละติจูดสูงเข้ามายังเขตอบอุ่นและเขตร้อน ทำให้กระแสน้ำเย็นลงหรืออุณหภูมิต่ำกว่าน้ำที่อยู่โดยรอบ ส่งผลให้น้ำทะเลอุณหภูมิต่ำ มีความหนาแน่นสูง จึงเกิดการจมตัวลงเกิดเป็นกระแสน้ำเย็น ซึ่งบริเวณที่กระแสน้ำเย็นหลักไหลผ่าน เช่น กระแสน้ำเย็นเปรู

 

     เมื่อเกิดการแทนที่ของกระแสน้ำจึงเกิดความแตกต่างด้านอุณหภูมิและความหนาแน่นของน้ำ ทำให้เกิดการไหลเวียนของประแสน้ำขึ้น ซึ่งการพัดเข้ามาของกระแสน้ำจะทำให้อุณหภูมิน้ำบริเวณนั้นสูงขึ้นและค่อยๆ ลอยตัวขึ้นมาบนผิวน้ำ พร้อม ๆ กับดึงเอาแร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ ขึ้นมาด้วย ทำให้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างแพลงตอนสามารถขยายพันธุ์ได้ดี เกิดเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ทะเลจำนวนมาก ปลาน้อยใหญ่จึงพากันมาชุมนุมในบริเวณนั้น

 

กระแสน้ำกระทบ ฮอกไกโด มีผลต่อ แซลมอน

วิกฤตของกระแสน้ำอุ่น ส่งผลต่อสัตว์ทะเลอย่างไร

 

     จากรายงานวิจัยในวารสาร Nature Geoscience และ PNAS ระบุถึงวิกฤติของกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม หรือ Atlantic Meridional Overturning Circulation (AMOC) ที่กำลังอ่อนกำลังลงในระดับต่ำสุดในรอบพันปี และเสี่ยงต่อการหยุดไหลถาวรภายในช่วงท้ายของศตวรรษนี้ เนื่องจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป 

 

เมื่อแผ่นน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ละลายจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น น้ำจืดจำนวนมากจะไหลลงสู่มหาสมุทร ทำให้ไปรบกวนการไหลเวียนของกระแสน้ำที่ขับเคลื่อนด้วยแรงดันเกลืออยู่ เป็นเหตุให้กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมไหลได้ช้าลง และหากภาวะโลกร้อนย้งคงดำเนินเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมอาจหยุดไหลถาวรในช่วงศตวรรษถัดไป

 

เมื่อกระแสน้ำอุ่นที่พัดมาจากเขตร้อนสู่ซีกโลกเหนือหยุดชะงัก จะทำให้การนำพาแร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลหยุดนิ่งไปด้วย และทำให้เกิดหายนะครั้งใหญ่ของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรแอตแลนติกและทั่วโลก เพราะกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมเป็นกระแสน้ำสายหลักขนาดใหญ่ที่สำคัญที่สุดของโลก

 

กระแสน้ำกระทบ ฮอกไกโด แซลมอนหาย

ฮอกไกโด กำลังเผชิญกับการแปรปรวนของกระแสน้ำอุ่น

 

ฮอกไกโด เกาะที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของ ประเทศญี่ปุ่น ถูกล้อมรอบด้วยทะเล 3 แห่ง ได้แก่ ทะเลญี่ปุ่น มหาสมุทรแปซิก และทะเลโอคอตสค์ มีกระแสน้ำทะเลรอบเกาะที่สำคัญ ได้แก่ 

  • กระแสน้ำอุ่นสึชิมะ (Tsushima) ที่ไหลใน ทะเลญี่ปุ่น เป็นสาขาของกระแสน้ำอุ่นคูโรชิโอะ
  • กระแสน้ำอุ่นโซยะ (Sōya) ที่ไหลไปตามชายฝั่งทะเลโอค็อตสค์ แตกออกจากกระแสน้ำอุ่นสึชิมะ
  • กระแสน้ำเย็นโอยะชิโอะ (Oyashio) กระแสน้ำจากใต้มหาสมุทรอาร์กติกที่ไหลไปตามชายฝั่งตะวันออกของ เกาะฮอกไกโด และทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮอนชู

 

     หากบริเวณใดมีกระแสน้ำเย็นและกระแสน้ำอุ่นไหลมาบรรจบกันจะก่อให้แหล่งแพลงตอนที่เป็นอาหารของปลานานาชนิด ทำให้ปลามาชุมนุมบริเวณนั้นกันมากมาย จึงเกิดเป็นเขตอุตสาหกรรมการประมงที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุด ในประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งบริเวณที่เกิดกระแสน้ำเย็นโอยะชิโอะ (Oyashio) กับกระแสน้ำอุ่นคูโรชิโอะ (Kuroshio) หนึ่งในสามกระแสน้ำอุ่นสายหลักในมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกแหล่งหนึ่งมาบรรจบกันจะเกิดเป็นแหล่งปลาชุกชุมที่เรียกว่า “คูริลแบงก์ (Kuril Bank)” ทำให้ ญี่ปุ่น จับปลาได้จำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณกระแสน้ำเย็นเพราะปลาจะชอบอยู่น้ำเย็นมากกว่ากระแสน้ำอุ่น 

 

     ปัจจุบัน ทะเลญี่ปุ่น กำลังเผชิญกับเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศจากสภาวะโลกร้อน ส่งผลให้อุณหภูมิในทะเลสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้การจับสัตว์ทะเลได้รับผลกระทบโดยเฉพาะการทำประมงชายฝั่งรอบ เกาะฮอกไกโด ที่ได้สัตว์ทะเลชนิดใหม่มาแทนชนิดเดิม เช่น ในทะเลโอค็อตสค์ ชาวประมงเริ่มพบเห็นปลาทูน่าสีน้ำเงิน สัตว์น้ำทางตอนใต้จำนวนมากในระหว่างจับปลาหมึกซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติมาก จากนั้นชาวประมงก็เริ่มจับปลาทูน่าครีบน้ำเงินได้ 2-3 ตัว จากอวนดัก ปลาแซลมอน ในฤดูใบไม้ร่วง แต่ในปัจจุบันกลับจับปลาทูน่าครีบน้ำเงินได้มากกว่า 20 ตัว แต่ละตัวล้วนมีน้ำหนัก 10-20 กก. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำอุ่นมายัง ฮอกไกโด ได้นำพาสัตว์ทะเลที่พบได้จากภูมิภาคอื่น ๆ เข้ามาแทนที่ ทำให้สัตว์ทะเลประจำถิ่นอาจพบได้น้อยลง

 

กระแสน้ำกระทบ ฮอกไกโด ปลาแซลมอน หาย

 

     แม้ว่า ฮอกไกโด กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำทะเล แต่ ญี่ปุ่น ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเลนานาชนิด และยังคงเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบ อาหารญี่ปุ่นชั้นดี ซึ่ง Kabocha sushi  ร้านอาหารญี่ปุ่น ที่ยังต้องพึ่ง ท้องทะเลของประเทศญี่ปุ่น เพราะทางร้านมีการนำเข้าวัตถุดิบสดๆ จาก ตลาดปลาญี่ปุ่น เป็นประจำ เพื่อให้คุณได้ทานอาหารในรสชาติ ญี๊ปุ่นญี่ปุ่น อย่างต้นตำรับแท้ๆ เราได้แต่หวังว่าผืน ทะเลของญี่ปุ่น จะอุดมสมบูรณ์ไปตราบนานเท่านาน แต่ถ้าช่วงนี้ใครคิดถึง บรรยากาศญี่ปุ่น ต้องมาลองสัมผัสด้วยตัวเองได้ที่ร้าน Kabocha sushi หรือ จะสั่งแบบ เดลิเวอรี่ ไปกินที่บ้านก็ได้นะ รับรองอร่อยทุกเมนูเหมือนเชฟปรุงเสร็จใหม่แน่นอน สั่งเลย!!