การเดินทางของขยะใน ญี่ปุ่น

      ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ตระหนักถึงธรรมชาติเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ ท้องทะเลญี่ปุ่น ที่เป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่เปรียบเสมือนแหล่งอาหารสำคัญของประเทศรวมถึงทั่วโลก แต่ด้วยวิกฤตของสัตว์ทะเลที่ค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือขยะ และมลพิษทางน้ำ ทำให้ ประเทศญี่ปุ่น มีการออกมาตรการลด และกำจัดขยะก่อนลงสู่ ทะเลญี่ปุ่น อย่างจริงจัง โดยอาศัยความร่วมมือของคนทั้งสังคม เรามาดูกันดีกว่าว่า คนญี่ปุ่น ทำอะไรกันบ้าง

การเดินทางของขยะใน ทะเลญี่ปุ่น

 

จุดเริ่มต้นของการเริ่มกำจัดขยะ

การกำจัดขยะ และการบำบัดของเสียใน ประเทศญี่ปุ่น สามารถแบ่งออกกว้าง ๆ ได้ 3 ยุค ด้วยกัน

1. การพัฒนาด้านสาธารณสุข (ช่วงปลายทศวรรษ 1800 – ต้นทศวรรษ 1900)

    ในช่วงนี้ ประเทศญี่ปุ่น ยังไม่มีกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการกำจัดขยะขึ้นมา จะมีเพียงแต่ให้คนทิ้งขยะกับบริษัทกำจัดขยะหรือภาคเอกชนทำการกำจัดขยะกันเอง โดยการนำขยะมารวบรวมแล้วแยกขยะออกเป็นส่วน ๆ ส่วนไหนขายได้จะนำไปขาย ส่วนไหนขายหรือใช้ประโยชนืไม่ได้ก็จะนำไปเททิ้งตามพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหามลพิษและความสะอาด เช่น ส่งกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน และยุง เป็นต้น ต่อมาได้เริ่มมีการออกกฎหมายในการกำจัดขยะขึ้นเพื่อให้มีการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี โดยเน้นการเผาขยะตามโรงเผาต่าง ๆ แต่ด้วยจำนวนเตาเผาที่มีน้อยเกินไปจึงมีการเผาขยะกลางแจ้งขึ้น พอมาถึงช่วงหลังสงครามผู้คนต่างพากันอพยพเข้าเมือง ปัญหาขยะก็ยังคงมากขึ้น ผู้คนยังทิ้งขยะตามแม่น้ำลำคลอง จึงได้ออกกฎหมานเพิ่มเติมอีกฉบับโดยอาศัยความร่วมมือในระดับจังหวัดเพื่อให้การกำจัดขยะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

การแยกขยะใน ญี่ปุ่น

 

2. ช่วยการกำจัดมลพิษและสิ่งแวดล้อม (ช่วงทศวรรษ 1960 – 1970)

    ยุคนี้ ญี่ปุ่น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การจับจ่ายใช้สอยขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ขยะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะขยะที่ปนเปื้อนสารเคมี การลักลอบนำขยะไปทิ้งลง ทะเลญี่ปุ่น รวมถึงมลภาวะที่เกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรมด้วย จนส่งผลต่อสุขภาพจากโรคมินามาตะและอิไตอิไตขึ้น ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงได้มีการก่อตั้งกระทรวงสิ่งแวดล้อมขึ้น มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศและมลพิษทางน้ำ มีการกำหนดมาตรฐานของโรงงานกำจัดขยะอย่างชัดเจน เพื่อควบคุมป้องกันขยะและมลภาวะขึ้น ในช่วงนี้เอง ญี่ปุ่น จึงเริ่มนำการแบ่งแยกขยะมาใช้

 

การทิ้งขยะใน ญี่ปุ่น

 

3. การสร้างสังคมหมุนเวียน (ในยุคปัจจุบัน)

    แม้ว่าจะมีการออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อกำจัดมลพิษและขยะ แต่ญี่ปุ่น ยังคงประสบปัญหาขยะจำนวนมาก ทำให้ญี่ปุ่น เปลี่ยนเป้าหมายจากการที่ต้องการกำจัดขยะ มาเป็นการลดขยะ และให้มีการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีการกำหนดตั้งแต่กระบวนการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงขั้นผลิต และการสร้างระบบการรีไซเคิลสินค้าต่าง ๆ ขึ้น ทั้งยังมีการเผยแพร่ความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมใรการลดใช้ขยะกันด้วย 

 

ญี่ปุ่นมีการจัดการกำจัดขยะอย่างไร

    ญี่ปุ่น ยังคงใช้วิธีการแยกขยะอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นการกำจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก จนสามารถนำขยะที่แยกได้ไปทำถนน สร้างตึก และถมทะเลด้วย เมื่อขยะถูกคัดแยกตั้งแต่ผู้อยู่อาศัยตามบ้านเรือน ญี่ปุ่น จะนำขยะส่วนที่เผาได้ไปเผาตามเตาเผาต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเภท แล้วนำขยะที่เผาเรียบร้อยแล้วมาอัดให้แน่นเป็นอิฐบล็อก คอนกรีต เพื่อใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ สำหรับขยะส่วนไหนที่เผาไม่ได้จะนำไปที่โรงบด ซึ่งที่นี่จะมีการแยกขยะที่เป็นโลหะและพลาสติกออกจากกัน ชิ้นไหนใหญ่ก็จะนำมาตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นจะนำเหล็กกับอลูมิเนียมออกจากกัน แล้วบีบอัดเป็นก้อน เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

 

การเดินทางของขยะใน ทะเลญี่ปุ่น

 

     ส่วนน้ำเสียก่อนที่จะปล่อยทิ้งลงทะเล จะมีการบำบัดน้ำเสียก่อน โดยจะส่งน้ำเสียเหล่านี้ไปยังการประปาเพื่อทำให้เป็นน้ำสะอาด ทำให้ ทะเลญี่ปุ่น มีความสะอาด สิ่งมีชีวิตในทะเลมีความชุกชุม พร้อมทั้งยังมีการควบคุมการจับปลา เพื่อให้สัตว์ทะเลมีฤดูกาลวางไข่เพื่อขยายพันธุ์อย่างเหมาะสม ทั้งยังมีการสำรวจ ท้องทะเลญี่ปุ่น อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ทะเลญี่ปุ่น ยังคงความสมบูรณ์ของแหล่งอาหารทะเลที่สำคัญของโลกได้

 

     ในขณะที่อาหารเหลือทิ้งจากร้านค้าร้านอาหาร หรือครัวเรือน รัฐบาลญี่ปุ่น ก็ได้พยายามแก้ปัญหาตรงจุดนี้ด้วย โดยมีการรณรงค์ให้ร้านค้า ร้านอาหาร ซุปเปอร์มาเก็ตต่าง ๆ รวมถึงประชาชนให้ช่วยกันลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งให้น้อยลง จึงเกิดเป็นแอปพลิเคชั่นที่ช่วยในควบคุมเศษอาหารเหลือทิ้งขึ้นมามากมาย เช่น แอป “EcoBuy” แอปที่จะแจ้งว่าสินค้าที่ซื้อมาชิ้นไหนบ้างที่ใกล้หมดอายุแล้ว หรือแอป “TABETE” ที่ช่วยให้ร้านค้าได้ขายอาหารที่ใกล้หมดอายุในราคา “ประหยัด” เพื่อให้ลูกค้าที่อยู่ใกล้เคียงได้ค้นหา แล้วทำการสั่งซื้อ เพื่อเป็นการลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งของร้านค้าร้านอาหารต่าง ๆ ให้น้อยลงค่ะ

 

     เป็นยังไงบ้างคะ เห็นแบบนี้แล้วอยากจะลิ้มรสความอร่อยของ ท้องทะเลญี่ปุ่น กันที่ คาโบฉะ ซูชิ  (Kabocha Sushi) ร้านอาหารญี่ปุ่น ที่มีให้มากกว่าความอร่อย ด้วยเมนูที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นซูชิชิ้นใหญ่ คำโต ซาซิมิเนื้อแน่น นุ่มลิ้น ข้าวดงบุริ หน้าต่าง ๆ ชามโต หรือจะเป็นเมนู อุด้ง ราเมง ที่ใช้น้ำซุปเข้มข้นถึงใจ จะกินกี่ครั้งก็อร่อยเหมือนเดิมไม่เคนเปลี่ยน เพราะทางร้านเลือกแต่วัตถุดิบคุณภาพดีส่งตรงจาก ท้องทะเลญี่ปุ่น แท้ ๆ ที่คงมาตรฐานไว้อย่างสม่ำเสมอ แล้วมาอร่อยกันได้ที่ คาโบฉะ ทุกสาขา นะคะ