ญี่ปุ่น ฟื้นคืนระบบนิเวศได้อย่างไร? หลังภัยพิบัติ 10 ปี Kabocha ชวนดู เพื่อความยั่งยืน

     หากพูดถึงภัยพิบัติใหญ่ที่ ญี่ปุ่น หลายคนคงนึกถึงเหตุการณ์ใหญ่ วิกฤตการณ์นิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ที่เกิดจากแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งของ ญี่ปุ่น ที่เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแสนสาหัส 

ผ่านมา 10 ปี ที่ประเทศญี่ปุ่น ในการพยายามพลิกฟื้นเศรษฐกิจและการประมง โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงและการส่งออก ปลาดิบ ไปยังประเทศต่างๆ ญี่ปุ่นทำสำเร็จได้อย่างไร ตาม Kabocha มาตามรอย ปลาดิบของญี่ปุ่น หลังจากภัยพิบัติกันค่ะ

 

ญี่ปุ่น ฟื้นคืนระบบนิเวศ หลังภัยพิบัติ โดย kabocha sushi

พาย้อนเหตุการณ์จุดเริ่มต้นของภัยพิบัติเมื่อ 10 ปีก่อน

     จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวทางตะวันออกของ เมืองเซนได ที่อยู่ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ตั้งอยู่ที่ เมืองโอคุมะ จังหวัดฟุกุชิมะ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียวราว 220 กม. ไปทางเหนือ 97 กม. ทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดถล่มแนวป้องกันคลื่น จังหวัดมิยางิ และ จังหวัดฟุคุชิมา เป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุด ส่งผลให้สนามบินเซนได โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่เกษตรกรรม โรงกลั่นน้ำมัน ระบบคมนาคม การขนส่ง รวมถึงการประมงเกิดการสูญเสียอย่างหนัก แต่ความเสียหายไม่ได้หยุดแค่นั้นเพราะ เตาปฏิกรณ์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เกิดการระเบิดขึ้น ตามมาด้วยการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีมากมาย ยิ่งทำให้เหตุการณีเลวร้ายขึ้นไปอีก แม้ว่าบริเวณโรงไฟฟ้าจะมีกำแพงกันคลื่นยักษ์ขนาดสูงมากที่สุด 5.7 เมตร แต่ไม่อาจป้องกันคลื่นที่สูงมากถึง 14-15 เมตรได้ ซึ่งเชื่อกันว่าอาจต้องใช้เวลานานถึง 40 ปี จึงจะสามารถฟื้นฟูได้แล้วเสร็จเลยทีเดียว

 

ญี่ปุ่น ทำการ ฟื้นคืนระบบนิเวศ หลังภัยพิบัติ โดย kabocha sushi

ญี่ปุ่นพลิกฟื้นประมงให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง

     หลังจาก สึนามิ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการประมงได้รับความเสียหายอย่างมาก หลายประเทศปฏิเสธการนำเข้าสินค้าและ อาหารทะเลจากมิยางิ อิวาเตะ และ ฟุกุชิมะ รวมถึงจังหวัดใกล้เคียงอื่น ๆ อีกทั้งทั้งสามจังหวัดยังใน โทโฮคุ ยังประสบปัญหาการขาดแคลนผู้สืบทอดธุรกิจ จำนวนคนงานที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงทะเล  โดยมีอัตราแรงงานลดน้อยลงเกือบครึ่งหนึ่งในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่น จึงพยายามส่งเสริมให้มีการอพยพผู้คนจากนอกฟุกุชิมะจำนวนมากเพื่อเข้ามาฟื้นฟูอุตสาหกรรมต่าง ๆ

 

สำหรับ รัฐบาลญี่ปุ่น ได้กำหนดให้พื้นที่ประสบภัยพิบัติจาก เหตุการณ์แผ่นดินไหว และ คลื่นสึนามิถล่ม เป็น “เขตฟื้นฟูพิเศษ” เพื่ออำนวยความสะดวกในการฟื้นฟู และใช้มาตรการการช่วยเหลือต่างๆ เช่น การจัดเก็บภาษีในอัตราพิเศษ ยกเว้นกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟู สร้างระบบสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ สนับสนุนการวางระบบสวัสดิการ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จึงช่วยให้อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจในแถบนี้ค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ

 

ญี่ปุ่น มีการ ฟื้นคืนระบบนิเวศ หลังภัยพิบัติ โดย kabocha sushi

 

ทางด้านชาวประมง และ ผู้ประกอบการ ต่างออกเงื่อนไขข้อควบคุมแบบสมัครใจในการปฏิบัติงานของตนเอง ร่วมกับ จังหวัดฟุกุชิมะ ที่เฝ้าติดตามการตรวจวัดการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีมากกว่า 10,000 ครั้ง จนกระทั่งในปี 2557 สมาพันธ์ด้านสหกรณ์การประมงจังหวัดฟุกุชิมะ ได้เริ่มเปิดกิจการประมงขึ้นมาใหม่ และได้เริ่มทดลองจำหน่ายสัตว์น้ำที่ผ่านการคัดกรองการปนเปื้อนรังสี 52 ชนิด พร้อมกับได้ทำการชี้แจงต่อสาธารณะ หากสัตว์น้ำชนิดไหนพบค่ารังสีมากกว่า 50 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม จะถูกตัดออกจากรายการทดลองของสหกรณ์ทันที

 

ในส่วนของความกังวลเรื่องการปนเปื้อนในน้ำ ทางจังหวัดฟุกุชิมะ ได้เพิ่มการตรวจสอบพื้นที่มหาสมุทร โดยจะอนุญาตในทำประมงได้ในพื้นที่ที่ไม่มีการตรวจพบ สารซีเซียม และ ตริเตียม หรืออาจมีการตรวจพบในปริมาณที่ต่ำมากๆ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค จนท้ายที่สุดสินค้าประมงของ จังหวัดฟุกุชิมะ ได้ถูกจัดจำหน่ายไปตามตลาดต่างๆ อีกครั้ง เช่น ตลาดปลาซึกิจิ และปัจจุบันมีการรับประทานกันอย่างแพร่หลายภายในประเทศ

 

ญี่ปุ่น ได้ ฟื้นคืนระบบนิเวศ หลังภัยพิบัติ โดย kabocha sushi

และแล้วไทยก็นำเข้าปลาสดจากฟุกุชิมะเป็นประเทศแรกๆ

     ในช่วงแรกประเทศไทย ได้มาตรการคุมเข้มการนำเข้า ปลาดิบ จากฟุกุชิมะ ได้แก่ การกำหนดปริมาณการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี และการแสดงเอกสารยืนยันชนิดอาหารและพื้นที่จากประเทศต้นทาง ก่อนที่จะมีการสุ่มตรวจการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีต่างๆ ของอาหารญี่ปุ่น ทั้งปลา ไข่ปลา หอย กุ้ง ปู ปลาหมึก สาหร่าย  รวมถึงผัก ผลไม้ และอาหารแปรรูปต่างๆ หากพบว่ามีการปนเปื้อนจะห้ามนำเข้า ต่อมาในปี 2559 ก็สามารถนำเข้าได้โดยที่ไม่ต้องมีเอกสารยืนยันจากประเทศต้นทาง สำหรับมาตรการของ ประเทศญี่ปุ่น เองจะมีการตรวจสอบเช่นกัน ถ้าอาหารล็อตใดที่ปนเปื้อนกัมมันภาพรังสี ที่เกินมาตรฐานจะถูกควบคุม และ ทำลายทันที 

 

 

 

     Kabocha sushi ในฐานะที่เป็น ร้านอาหารญี่ปุ่น ที่นำเข้าวัตถุดิบสด ๆ ส่งตรงจากประเทศญี่ปุ่น จึงตระหนักถึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงความปลอดภัยในการบริโภคของทุกคน ได้มีการเลือกผลิตเมนูอาหาร แผ่นรองจาน สายคาดกล่องแพคเกจจิ้ง โดยใช้ “นวัตกรรมพิมพ์เขียว” ที่มีส่วนช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน และใช้ Yessoy Ink พิมพ์ด้วยหมึกถั่วเหลือง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ ซึ่งช่วยลดอันตรายจากสารเคมี และปราศจากสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้วัตถุดิบที่ Kabocha Sushi Delivery นำเข้ามานั้น จะนำเข้าแบบวันต่อวัน ชนิดการันตีความสดใหม่ในทุกคำ ล้วนผ่านการคัดสรรอย่างพิถีพิถันเพื่อให้คนรัก ซูชิ และ อาหารญี่ปุ่น ได้ลองลิ้มชิมรสกับอาหารรสชาติเยี่ยมที่เหมือนบินไปกินถึง ประเทศญี่ปุ่น ถ้าใครอยากลอง ซูชิ ซาชิมิสดๆ ที่นุ่มละมุนลิ้นต้องลอง หรือจะ เลือกทานอาหารญี่ปุ่น เมนูอื่นก็มีให้เลือกมากมาย แต่ไม่ว่าเมนูไหนก็อร่อยจนคุณต้องติดใจ