เริ่มปีใหม่ วางแผนออมเงิน แบบ “Kakeibo” ในสไตล์คนญี่ปุ่น

                        ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มักจะมีอะไรให้เรารู้สึกแปลกใจอยู่ตลอดเวลาแม้กระทั่งการออมเงินในญี่ปุ่นที่มีการทำบัญชีแยกประเภทการเงินของครัวเรือนเช่นเดียวกับไทย แต่ว่าเค้าจะมีการบันทึกหรือจดรายรับรายจ่ายที่มีความละเอียดมากกว่า และสามารถช่วยทำให้การเก็บเงินถึงเป้าหมายได้ เรียกว่า “คะเคโบะ (Kakeibo)” วันนี้เราจะพาทุกคนมาเริ่มต้นปีใหม่ ด้วยวิธีการออมเงินแบบญี่ปุ่นกันครับ

 

“คะเคโบะ” เริ่มขึ้นเมื่อไหร่

ย้อนไปเมื่อประมาณ 118 ปีก่อนคะเคโบะ ในปี 1904 ถูกคิดคนขึ้นมาโดย ฮานิ โมโตโกะ (Hani Motoko) นักข่าวหญิงคนแรกของญี่ปุ่น จากการที่เธอต้องการช่วยแม่บ้านในการจัดการรายรับรายจ่ายของครอบครัว จากนั้นในปี 2561 ฟูมิโกะ ชิบะ ได้พิมพ์หนังสือการออมเงินออกมา โดยใช้ชื่อว่า Kakeibo: The Japanese Art of Saving Money

 

รู้จักวิธีการวางแผนออมเงินแบบ “คะเคโบะ” 

  1. “บันทึกรายได้ต่อเดือน” คุณควรจดบันทึกรายได้ทั้งหมดที่ได้รับในแต่ละเดือน ทั้งรายได้งานประจำและรายได้จากงานเสริม หรือรายได้จากแหล่งอื่นลงไป
  2. แยกจดบันทึกเป็น “รายจ่ายประจำ” หรือรายจ่ายที่ต้องจ่ายแน่นอนในแต่ละเดือน  เช่น ค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบ้าน เป็นต้น
  3. “หักรายจ่ายประจำออกจากรายได้ต่อเดือน” เพื่อให้ทราบ “จำนวนเงินคงเหลือ” ในแต่ละเดือน เราจะได้ทราบว่าในเดือนนั้นควรใช้เงินเท่าไหร่และควรเหลือเงินเก็บออมเท่าไหร่คะ
    • รายได้ต่อเดือน - รายจ่ายประจำ = จำนวนเงินคงเหลือ (นำเงินส่วนนี้มาใช้ และแบ่งออม)
  4. “กำหนดเป้าหมายในการออม” โดยในช่วงแรกอาจจะตั้งเป้าหมายที่ง่ายง่ายเพื่อให้ไปให้ถึงเป้าหมายจากนั้นก็ค่อยค่อยเพิ่มหรือกำหนดเป้าหมายในการออกที่ใหญ่ยิ่งขึ้น
  5. จากนั้นจดการใช้จ่ายในแต่ละวัน โดย “จดรายจ่ายแบบจัดเป็นหมวดหมู่” หรือแยกประเภทของค่าใช้จ่ายออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
    • Survival (ค่าใช้จ่ายจำเป็นในการดำรงชีวิต) เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าที่อยู่ เป็นต้น
    • Optional (ค่าใช้จ่ายเพื่อตอบสนองความต้องการ) อาจจะเป็นค่าใช้จ่ายที่มีความจำเป็นหรือไม่มีความจำเป็นก็ได้ เช่น ค่าท่องเที่ยว ค่าซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ ค่าเสริมสวย ค่าล้างรถ เป็นต้น
    • Culture (ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงหรือกิจกรรมต่าง ๆ) เช่น ค่าดูหนัง ค่าสตรีมมิ่งแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ค่าคอนเสิร์ต เป็นต้น
    • Extra (ค่าใช้จ่ายที่เกิดเหตุไม่คาดคิด) เช่น ค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
  6. พอถึงเสร็จเดือนให้ “สรุปรายจ่ายในแต่ละเดือน” แล้วดูว่า…
    • ในเดือนนั้น ๆ ใช้เงินไปเท่าไหร่ 
    • มีเงินออมเท่าไหร่ 
    • ต้องการเงินออมอีกเท่าไหร่ถึงจะถึงเป้าหมาย
    • ต้องปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายหรือไม่ ทำอย่างไรเพื่อให้มีเงินออมไปถึงเป้าหมาย หรือมีเงินออมที่มากขึ้น

              สิ่งสำคัญของการทำบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน เราควร “บันทึกรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ” และควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่เราจะได้รู้ว่ารายจ่ายในแต่ละเดือนเป็อย่างไร ควรมีการวางแผนเงินออมและค่าใช้จ่ายอย่างไร และควรปรับเปลี่ยนรายจ่ายในส่วนไหนเพื่อให้เรามีเงินออมเข้าใกล้เป้าหมายมากยิ่งขึ้น

 

เทคนิคลดรายจ่าย

รายจ่ายหลักของเพื่อน ๆ คืออะไร บางคนบอกว่าค่าบ้าน ค่าเดินทาง บางคนอาจเป็นค่าอาหาร ซึ่งค่าใช้จ่ายบางอย่างเราก็ไม่สามารถประหยัดหรือลดลงได้ แต่บางอย่างเราสามารถประหยัดลงได้ แม่บ้านส่วนใหญ่จะใช้วิธีลดรายจ่ายโดยการตามล่า “สินค้าลดราคาหรือโปรโมชั่น” เพราะสินค้าเหล่านี้จะช่วยให้คุณแม่บ้านได้สินค้าในราคาที่ถูกลง หรือได้ในปริมาณมากขึ้น รวมถึงการใช้บัตรสะสมแต้มเพื่อแลกคะแนนเป็นส่วนลดหรือบางทีเราอาจจะได้สินค้ามาฟรี ๆ ด้วยนะ แม่บ้านบางคนที่ซื้อของเป็นประจำจะจำได้ว่าของแต่ละชิ้นที่เคยซื้อมาเท่าไหร่ เดือนนี้ของราคาสูงขึ้นหรือลดลงก็มี

 

                      ไม่ใช่แค่ของใช้เท่านั้นนะ “อาหาร” เราก็สามารถเลือกที่ประหยัดได้ โดยเลือกทานจากร้านที่มีโปรโมชั่นได้เลย หรือจะเลือกซื้อวัตถุดิบที่ลดราคาอยู่แต่คุณต้องอย่าลืมดูวันหมดอายุด้วยนะ เพราะแทนที่เราจะได้อาหารราคาประหยัด อาจกลายเป็นได้ของแพงเพราะของที่ซื้อมาทานไม่ได้ต้องทิ้งแล้วซื้อใหม่ สำหรับใครที่ตอนนี้ลังมองหาร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีโปรโมชั่นปัง ๆ ต้องที่นี่เลย “คาโบฉะ (Kabocha)” ร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีเมนูให้เลือกมากมาย แถมขยันออกโปรโมชั่นเพื่อให้ทุกคนได้ลิ้มลองอาหารคุณภาพดีในราคาที่ลง โดยที่ยังคงหน้าตาที่น่าทาน วัตถุดิบที่สดใหญ่ และปริมาณจุก ๆ ไว้เหมือนเดิม เพื่อมอบให้กับลูกค้าที่เป็นคนพิเศษของเรา จำชื่อนี้ไว้ดี ๆ เพราะ Kabocha มีโปรโมชั่นดี ๆ มาเซอร์ไพรส์ให้คุณอยู่เสมอ