Kabocha sushi พาชมการเพาะเลี้ยงปะการังเทียมของ ญี่ปุ่น

       ปะการัง บ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิตตัวเล็กภายใต้ท้องทะเลที่กว้างใหญ่ เป็นที่พักพิง แหล่งอนุบาลตัวอ่อน แหล่งหลบภัย รวมถึงเป็นที่สืบพันธุ์ และขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ท้องทะเลญี่ปุ่น ได้เผชิญกับความแปรปรวนหลายต่อหลายครั้งทั้งกระแสน้ำที่เปลี่ยนทิศ อุตสาหกรรมการประมงที่มากขึ้นทำให้ปะการังถูกทำลาย และสภาวะของโลกร้อนทำให้แนวปะการังต้องตาย จำนวนปลา สัตว์ทะเลอื่น ๆ ที่เคยมีมากก็ค่อย ๆ ลดน้อยลงไปด้วย ทำให้ ญี่ปุ่น เร่งหาแนวทางพื้นฟูปะการัง เพื่อให้ระบบนิเวศใต้ท้องทะเลกลับมา และวันนี้ Kabocha จะพาเพื่อน ๆ ไปตามภารกิจฟื้นฟูระบบนิเวศด้วยการเพาะเลี้ยงปะการังกันคะ 

 

ปะการังเทียม ทะเลญี่ปุ่น

 

ทำความรู้จักปะการัง แหล่งพักพิงของสัตว์ทะเล

 

     แนวปะการังที่เราเห็นตามท้องทะเลลึกเวลาดำน้ำ หรือเห็นตามสารคดีต่าง ๆ แท้จริงแล้วไม่ได้มีโครงร่างที่แข็งแรงตามที่เราเข้าใจกันค่ะ แต่เป็นเพียงเซลล์สิ่งมีชีวิตกลุ่มไนดาเรีย (Cnidaria) ที่บอบบาง แล้วอาศัยการสร้างโครงร่างให้แข็งแรงขึ้นมาเพื่อปกป้องเซลล์อีกที ปะการัง มีหลายสายพันธุ์บางสายพันธุ์ก็มีสีสวยมากไม่ใช่แค่นักดำน้ำที่หลงใหลแต่เหล่าปลาและสัตว์ทะเลยังชอบด้วย เราจึงเห็นปลาหลากหลายสายพันธุ์แวกว่ายอยู่ละแวกปะการัง พร้อมกับสัตว์อื่น ๆ เช่น กุ้งมังกร หอยเป๋าฮื้อ หอยหน้ายักษ์ หอยเม่น ฯลฯ 

ซึ่งข้อดีของปะการังอีกอย่างเลยคือ สามารถเป็นแนวกันคลื่นพายุชายฝั่ง กั้นการกัดเซาะของคลื่นน้ำทะเล และยังสามารถเป็นยารักษาโรค เช่น โรคมะเร็ง ได้ด้วย เมื่อนักวิทยาศาสตร์ตระหนักถึงผลกระทบที่ตามจึงได้มีการทดลองนำเอาปะการังมาเพาะเลี้ยงก่อนนำไปวางไว้ยังภายใต้ทะเล เพื่อให้ตวามสมบูรณ์ของท้องทะเล และความปลอดภันของแนวชายฝั่งกลับมา

 

ส่องใต้ ท้องทะเลญี่ปุ่น ดูปะการังเทียม

 

นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงปะการัง ให้สำเร็จได้อย่างไร

 

      การเพาะเลี้ยงปะการังของ นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น เป็นการเพาะเลี้ยงเซลล์ของปะการังภายในของปะการังเขากวาง (Acropora tenuis) ซึ่งเป็นปะการังที่มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างมาก ทำให้พวกมันฟอกขาวอยู่บ่อย ๆ เพียงแค่อุณหภูมิเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากนั้นนำเซลล์ที่ได้มาทำการเพาะเลี้ยงในจานเพาะเชื้อที่อุดมไปด้วยอาหารเลี้ยงเซลล์ พอ 10 เดือนผ่านไป เซลล์สิ่งมีชีวิตจำนวนมากก็เจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับการค่อย ๆ ก่อร่างสร้างพวกหินปูนขึ้นมาเป็นโครงปะการังที่เราพบเห็นตามธรรมชาติ ซึ่งการทดลองเพราะเลี้ยงปะการังครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะจะได้ช่วยเพิ่มจำนวนปะการังเขากวางได้มากขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น ได้กล่าวว่า ในอนาคตคาดว่าจะนำการทดลองนี้ไปใช้กับปะการังชนิดอื่นด้วย เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนปะการังที่กำลังประสบปัญหาแบบเดียวกันนี้ทั่วโลกด้วย

 

ส่องใต้ ท้องทะเลญี่ปุ่น ดูปะการังเทียม

 

การฟื้นฟูระบบนิเวศ ทางทะเลของ ญี่ปุ่น

 

     ญี่ปุ่น ได้มีการทดลองทำการฟื้นฟูแนวปะการังในจังหวัดโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น โดยการนำร่องการปลูกปะการังในพื้นที่ขนาดใหญ่ใน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้าน Onna, หมู่บ้าน Yomitan และ หมู่บ้าน Zamami ซึ่งจากการทดลองพบว่า หมู่บ้าน Onna ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูแนวปะการังมากที่สุด จึงได้สมญานามว่า  “หมู่บ้านปะการัง” เพราะการร่วมมือกันอย่างจริงจังตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 จนถึง ค.ศ. 2003 ในระยะเวลาดังกล่าวนี้ พวกเขาสามารถส่งคืนปะการังที่เพาะเลี้ยงแล้วกลับสู่ท้องทะเลได้สำเร็จแล้วมานับไม่ถ้วน ทั้งยังได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในพื้นที่ด้วย อย่างที่ Okinawa Diving Service Lagoon ได้มีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ปะการังและมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูแนวปะการัง โดยให้มีการนำปะการังไปปลูกยังพื้นที่ที่มีการควบคุมไว้ พอเลี้ยงจนปะการังแข็งแรงพอก็ย้ายลงสู่ทะเล 

 

มาดูปะการังเทียมใน ทะเลญี่ปุ่น

 

    เมื่อปะการังเริ่มฟื้นฟู สัตว์ทะเลก็จะเริ่มมาอาศัยเป็นที่พักพัก ผสมพันธุ์ วางไข่ ออกลูก ขยายพันธุ์ สัตว์ทะเลตัวใหญ่ ๆ ที่จ้องจะกินปลาทะเลตัวเล็ก ๆ ก็จะตามมา ทำให้เกิดเป็นระบบนิเวศที่สมบูรณ์ขึ้น ท้องทะเลของญี่ปุ่นก็จะกลับมาอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลา และสัตว์ทะเลหลากชนิด ทำให้ คาโบฉะซูชิ (Kabocha Sushi) ร้านอาหารญี่ปุ่น สามารถนำเข้าวัตถุดิบสด ๆ ส่งตรงจาก ท้องทะเลญี่ปุ่น มาถึงลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกคนได้ทาน อาหารญี่ปุ่น คุณภาพดี สดใหม่อย่างเอร็ดอร่อยจนคุณหยุดทานไม่ได้เลย นึกถึง อาหารญี่ปุ่น อย่าลืมนึกถึง คาโบฉะซูซิ ทั้ง 10 สาขาในกรุงเทพ นะคะ