Kaizen ( ไคเซ็น )เพื่อชมรมคนรักงาน ปรับเปลี่ยนมุมคิด ชีวิตการทำงานที่แฮปปี้

“เลิก ลด เปลี่ยน” แนวคิดไคเซ็น (Kaizen)  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

     ปัจจุบันนี้หลายคนคงเจอวิกฤตเรื่องการทำงานไม่มากก็น้อย ด้วยสถาวการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะโรคภัย หรือสงครามอะไรก็ตาม ที่ทำให้กระทบต่อเศรษฐกิจมากมาย สำหรับคนทำงานอย่างเราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน วันนี้ทาง Kabocha Sushi (คาโบฉะ ซูชิ) จึงมี แนวคิดของญี่ปุ่น " ไคเซ็น " ซึ่งเป็นแนวคิดสำหรับ การบริหารงานของญี่ปุ่น ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย มาให้คนทำงานอย่างเราได้ลองปฎิบัติ ปรับเปลี่ยนมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับคนทำงาน ทำงานกันได้อย่างราบรื่นและยังได้ผลงานการทำงานมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม 

 

แนวคิดไคเซ็น Kaizen โดย ร้านอาหารญี่ปุ่น คาโบฉะ ซูชิ

 

มาทำความรู้จักกับ “ไคเซ็น”  (Kaizen) คืออะไร? 

 

     แนวคิด “ไคเซ็น” เกิดขึ้นตอนช่วง พ.ศ. 2485 - 2518 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่ ญี่ปุ่นแพ้สงคราม จึงต้องการที่จะเดินหน้าประเทศต่อไป ด้วยการเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจ และได้เข้าร่วมกับ Bretton Woods System  ส่วนทางผู้ชนะสงครามอย่างสหรัฐอเมริกาก็ได้ส่ง คุณ William Edwards Deming เข้ามาช่วยจัดการและสร้างประเทศ  ใช้หลัก การผลิตคุณภาพสูงที่ต้องมาพร้อมกับการลดต้นทุนให้มีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งแนวคิดนี้มีหลายธุรกิจในช่วงนั้น ยอมรับและทำตามกันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Toyota ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ใน ประเทศญี่ปุ่น และแนวคิดนี้ก็ประสบความสำเร็จจริงๆ ทาง Toyota เลยช่วยเผยแพร่แนวคิดนี้ ไปทั่วโลก ซึ่งทางโตโยต้าได้เรียกว่า Toyota Way และได้รับความนิยมต่อไปในโลกตะวันตกเช่นกัน

 

“Kaizen” ( 改善 )  “ไคเซ็น” ใน ภาษาญี่ปุ่น ก็แปลกันได้แบบตรงตัว คำแรก คือ “改  ไค” แปลว่า เปลี่ยน  คำที่สอง คือ “善 เซน” แปลว่า ดีหรือความดี ซึ่งในเรื่องของการทำงาน หัวใจสำคัญในแนวคิด “ไคเซ็น” เน้นเรื่อง การลด การเลิก และการปรับเปลี่ยน เพื่อการปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม  ทั้งในเรื่องการทำงาน และ สภาพแวดล้อมรอบตัวในที่ทำงาน อธิบายเพิ่มเติมแบบง่ายๆ คือ การเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อการลดและเลิกในส่วนที่ไม่จำเป็น อย่างวิธีการทำงาน ขั้นตอนต่างๆ ที่ไม่จำเป็น ควรที่จะตัดออกไป และต้องปรับเปลี่ยนสิ่งใหม่ๆ ที่ทำให้การทำงานดีขึ้นเข้ามาใช้แทน

 

แนวคิดญี่ปุ่น ไคเซ็น โดย ร้านอาหารญี่ปุ่น kabocha

 

“ไคเซ็น”  (Kaizen) มีประโยชน์ต่อการทำงาน

 

     ประโยชน์ของการใช้แนวคิดนี้ หากใช้ถูกต้อง บอกได้เลยว่ามีประโยชน์มากๆ ต่อการพัฒนาการทำงานของคนทำงานอย่างเรา และดีต่อเจ้าของธุรกิจ เพราะสามารถช่วยลดต้นทุนและยังเพิ่มการผลิตให้มากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในแต่คน ลดความผิดพลาด ประหยัดเวลาในการจัดการงาน เพิ่มความปลอดภัย ปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือการบริการต่างๆ ที่สำคัญสามารถเพิ่มการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพิ่มผลกำไรและความพึงพอใจของลูกค้าได้อีกด้วย

 

แนวคิดไคเซ็น หรือ Kaizen โดย ร้านอาหารญี่ปุ่น คาโบฉะ ซูชิ

 

ใช้แนวคิด “ไคเซ็น”  (Kaizen) อย่างถูกต้องได้ผลชัวร์ 

 

     การที่จะใช้แนวคิด Kaizen ให้ได้ผล เราจำเป็นต้องใช้ให้ถูกต้อง ซึ่งคุณวิลเลี่ยมได้เเชร์เทคนิคที่ใช้ได้ผล ซึ่งใช้กันยาวๆ มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีหลักใหญ่ๆ คือ PDCA, ECRS และ 5W 1 H เป็นแนวทางหลักในการปฎิบัติ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ

 

  • PDCA  คือ แนวทางการดำเนินการ ตามขั้นตอนที่ได้วางเอาไว้ตามลำดับ

                    Plan (P) = วางแผน  การหาปัญหาที่เกิดขึ้น วิเคราะห์เพื่อหาแนวทางพัฒนา

                    Do (D) = ปฏิบัติ นำปัญหาและแนวทางมาปฎิบัติ  

                    Check (C) = ตรวจสอบ เป็นการติดตามวัดผลการปฎิบัติ เปรียบเทียบแบบเดิมและแบบใหม่

                    Act (A) = ปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามที่วางเป้าหมายไว้  

 

  • ECRS คือ ขั้นตอนการเริ่มต้นกระบวนการ และการแก้ไขปรับปรุง

                    Eliminate (E) = การพิจารณาขั้นตอนที่ไม่จำเป็นเพื่อตัดหรือเลิกไป

                    Combine (C) = การนำขั้นตอนต่างๆ มาผสานเข้าด้วยกัน 

                    Rearrange (R) = ทำการจัดความสำคัญของลำดับใหม่

                    Simplify (S) = ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน หรือหาตัวช่วยเพื่อให้งานง่ายขึ้น หรือ ราบรื่นขึ้นกว่าเดิม

 

  • 5W 1 H คือ ขั้นตอนการวิเคราะถึงเหตุผล แล้วนำมาปรับเปลี่ยนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม

                    What = ตั้งคำถามขึ้นมาก่อน อย่าง คืออะไร? ทำไปทำไม? เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ไหม?

                    When = ตั้งคำถามที่เกี่ยวพันกับเวลา อย่าง ทำถึงตอนไหน? ทำเวลาไหนดีกว่า?

                    Where = ตั้งคำถามที่เกี่ยวพันกับสถานที่ อย่าง ทำที่ไหนดี? ทำตรงนี้ได้ไหม?

                    Who = ตั้งคำถามที่เกี่ยวพันกับคน อย่าง คนนั้นทำได้ไหม? เราทำได้หรือเปล่า?

                    How = ตั้งคำถามที่เกี่ยวพันกับงาน เพื่อหาทางที่เหมาะ อย่าง ทำยังไง? ทำไมต้องทำแบบนี้?

                    Why = ตั้งคำถามย้ำ ซ้ำอีกครั้งกับคำถามที่ถามในข้างต้น ว่าดีไหม เหตุผลคืออะไร?

 

แนวคิดญี่ปุ่น ไคเซ็น Kaizen จาก ร้านอาหารญี่ปุ่น kabocha

 

     หลายคนอาจจะคิดว่า ทำจริงคงยากแน่ๆ ใช่ครับ… จริงๆ มันยาก แต่ต้องเริ่มทำ ไม่มีอะไรที่ยากเกินถ้ายังไม่ลองทำ สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา อย่ามองเป็นเรื่องไกลตัวนะครับ ลองเอามาพัฒนาใช้ก็สามารถพัฒนาความสามารถ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเราได้ด้วยเช่นกัน แต่พอใช้ความคิดมากๆ ท้องเราก็จะร้องตามมาใช่ไหมครับ ออกมาหาบรรยากาศใหม่ ปรับสมองเปลี่ยนอารมณ์ กินอาหารญี่ปุ่นอร่อยๆ หลากหลายเมนู รสชาติญี่ปุ่นแท้ๆ ที่ร้านอาหารญี่ปุ่น คาโบฉะ ซูชิ (Kabocha Sushi) กันนะครับ แถมตอนนี้ คาโบฉะ ก็ปรับตัวเช่นกัน หลังจากมีวิกฤตโควิด ทางร้านจึงเปิดบริการ เดลิเวอรี่ (delivery) ส่งเร็ว ส่งไว สะดวกสบายอิ่มอร่อยได้ทุกที่เลยนะครับ